สื่อการสอนประเภทกิจกรรม

           สื่อประเภทกิจกรรมนับเป็นสื่อการเรียนการสอนที่มีคุณค่าต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นอย่างยิ่งเพราะมีศักยภาพสูงในการถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน  ทำให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสนุกสนาน น่าสนใจ ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสร่วมในกิจกรรม
ความหมายของสื่อกิจกรรม
            สื่อ หมายถึง สิ่งต่างๆที่เป็นตัวกลางที่จะนำมาใช้การถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่านิยม หรือทักษะที่มีไปสู่เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเด็กเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายได้ดีที่สุด
            กิจกรรม หมายถึง การที่ผู้เรียนปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อการเรียนรู้
             สื่อกิจกรรม หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์หรือเรียนรู้เนื้อหาบทเรียนด้วย การดู การฟัง การสังเกต การทดลอง การสัมผัส จับต้องด้วยตนเอง รวมถึงการร่วมแสดงความคิดเห็น  การแสดงบทบาทในละคร  การละเล่น  เกม  กีฬา  การแข่งขันต่างๆตลอดจนการทำงานร่วมกับบุคคลอื่น  ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์แปลกใหม่ด้วยความเพลิดเพลิน  บางกิจกรรมอาจใช้สื่อวัสดุหรืออุปกรณ์เข้ามาช่วยในการถ่ายทอดความรู้เพื่อให้ผู้เรียนรับรู้และเรียนรู้เนื้อหาสาระในกิจกรรมได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ความสำคัญของสื่อ
1.เป็นเครื่องมือส่งเสริมเด็กให้กล้าแสดงออกและเกิดการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ  ค่านิยม หรือทักษะของผู้สอนไปสู่ผู้เรียน
3. เป็นเครื่องมือเร้าความสนใจของเด็ก ให้ติดตามเรื่องราวด้วย ความสนใจและไม่เกิดความรู้สึกว่าเป็นการ  “เรียน
4. เป็นเครื่องมือทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมและผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงทำให้จำได้นาน              
คุณค่าของสื่อประเภทกิจกรรม
สื่อประเภทกิจกรรมมีคุณค่าต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนหลายประการดังนี้
1. ช่วยรวมวัสดุอุปกรณ์หรือประสบการณ์ที่กระจัดกระจายไว้ในที่แห่งเดียวกัน
2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนกล้าแสดงออกและสามารถทำงานกับบุคคลอื่นได้
3. ช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้ร่วมกิจกรรมอื่นๆ
4. ช่วยถ่ายทอดเนื้อหาเป็นรูปธรรมได้ชัดเจนจากการได้สัมผัสด้วยตัวเอง
5. เป็นนวัฒกรรมการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้อย่างเพลิดเพลิน
ลักษณะสื่อกิจกรรมที่ดี
 1. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์ การทำกิจกรรมและประเมินผลกิจกรรม
2. ผู้เรียนได้ฝึกฝนพฤติกรรมการเรียนทั้งทางด้านความรู้ เจตคติและทักษะผสมผสานกันเป็นบูรณาการอย่างเป็นระบบ
3. มีลักษณะของการกระทำเด่นชัดด้วยการกำหนดคำที่แสดงถึงการกระทำไว้ด้วยทุกครั้ง
4. กำหนดเงื่อนไขสำหรับประกอบกิจกรรมไว้ชัดเจน สามารถวัดผล และสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนได้
5. มีเกณฑ์หรือมาตรฐานในการดำเนินกิจกรรม กำหนดพฤติกรรมที่ถือเป็นระดับต่ำสุดที่พึงพอใจ
6. ใช้เวลาพอเหมาะที่ผู้เรียนจะสามารถดำเนินกิจกรรมให้ประสบผลสำเร็จ และก่อให้เกิดความภาคภูมิใจได้
7. มีการชี้แนวทางหรือนำทางในการดำเนินกิจกรรมได้เด่นชัด
8. กิจกรรมต้องตรงกับเนื้อหาและจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
9. กิจกรรมไม่มีความยุ่งยากสลับซับซ้อน มีความยากง่ายเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
10. เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ประเภทของสื่อกิจกรรม
สื่อกิจกรรมที่นำมาใช้กับการเรียนการสอนมีหลายประเภท ดังนี้
1.การสาธิต (Demonstration)
2.การจัดนิทรรศการ (Exhibition)
3.นาฏการ (Dramatization)
4. การใช้ชุมชนเพื่อการศึกษา (Community Study)
5. สถานการณ์จำลอง (Simulation)
6. การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip)

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS


การสาธิต (Demonstration)

การสาธิต หมายถึง การสอนโดยวิธีอธิบายข้อเท็จจริง ความคิด และขบวนการต่าง ๆ พร้อมกับการใช้วัสดุหรือเครื่องมือแสดงให้ผู้เรียนได้สังเกตไปด้วย การสาธิตใช้ได้ดีกับเนื้อหาวิชาที่มีลักษณะเป็นลำดับขั้นตอนและกระบวนการ

    ลักษณะสำคัญ

            วิธีสอนแบบสาธิตเป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนรู้ประสบการณ์ แนวทาง เช่น การฟัง การดู การสัมผัสแตะต้อง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ให้การเรียนรู้ค่อนข้างสมบูรณ์
วัตถุประสงค์ในการสาธิต

2.1 ให้ผู้เรียนได้รับรู้หลาย ๆ ด้าน เช่น ทางตา หู จมูก ลิ้น และการสัมผัส

2.2 มุ่งให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์กว้างขึ้น

2.3 ให้ผู้เรียนได้เข้าใจลำดับขั้นต่าง ๆ และสามารถสรุปผลได้

2.4 เป็นกิจกรรมที่สามารถปฏิบัติไปพร้อมกับวิธีการสอนวิธีอื่น ๆ ด้วยได้

ข้อดีและข้อจำกัดของการสาธิต
สื่อกิจกรรมประเภทการสาธิตมีข้อดีและข้อจำกัดดังนี้
ข้อดี
1) ทำให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรง
2) ทำให้ผู้เรียนเข้าใจง่ายและจดจำเรื่องที่สาธิตได้นาน
3) ทำให้ผู้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
4) ทำให้ประหยัดเงินและประหยัดเวลา
5) ทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์
 ข้อจำกัด
1) หากผู้เรียนมีจำนวนมากเกินไปก็อาจทำให้การสังเกตไม่ทั่วถึง

2) ถ้าผู้เรียนเตรียมการมาไม่ดีเมื่อเวลาสาธิตวนไปวนมาหรือสาธิตไม่ชัดเจนก็ทำให้ได้ผลไม่ดี
3) ถ้าการสาธิตนั้นเน้นที่ผู้สอนโดยผู้เรียนไม่มีโอกาสได้ปฏิบัติเลย ผู้เรียนก็อาจจะได้ประสบการณ์น้อย
4) ต้องมีการเตรียมตัวและฝึกฝนอย่างแม่นยำ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS


การจัดนิทรรศการ (Exhibition)

      นิทรรศการ หมายถึง การจัดแสดงสิ่งของวัสดุ อุปกรณ์มีความสัมพันธ์กันในแต่ละเรื่อง เพื่อเร้าความสนใจให้ผู้ชมมีส่วนร่วมและเรียนรู้ด้วยการดู ฟัง สังเกต จับต้อง และทดลองภายใต้จุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจุดมุ่งหมาย โดยการใช้สื่อหลายชนิด เช่น แผนภาพ หุ่นจำลอง ของจริง นอกจากนี้นิทรรศการยังสามารถจัดกิจกรรมอื่น ๆ ประกอบ เพื่อให้เกิดความสะดวก และรวดเร็วในการสื่อความหมายกับผู้ชม
 1. คุณค่าของนิทรรศการ

1.1ส่งเสริมการทำงานเป็นหมู่คณะฝึกความรับผิดชอบ ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในทางที่ดี

1.2 สื่อต่าง ๆ ที่นำมาจัดแสดงสามารถสื่อความหมายสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมได้

1.3 เป็นการจัดการเรียนการสอนตามอัธยาศัย ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ด้วยการดู ฟัง สังเกต

1.4 สามารถนำความคิดที่กระจัดกระจายมารวมกันไว้ให้ผู้ชมสรุปเป็นความคิดรวบยอดได้อย่างถูกต้อง

2. ประเภทของการจัดนิทรรศการ    

นิทรรศการที่พบเห็นทั่วไปแบ่งได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ คือ

2.1 การจำแนกตามขนาดได้แก่ การจัดแสดง นิทรรศการ มหกรรม

2.2 การจำแนกตามวัตถุประสงค์ในการจัด

2.3 การจำแนกตามระยะเวลา

2.4 การจำแนกตามสถานที่

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS


การจัดแผ่นป้าย

                แผ่นป้าย (board) หมายถึง แผ่นหนังสือหรือแผ่นเครื่องหมายที่บอกให้รู้(ราชบัณฑิตยสถาน,2546หน้า 696) เป็นวัสดุรองรับสื่อหรือเนื้อหาต่าง ๆ ที่นำมาจัดแสดงซึ่งมีหลายรูปแบบหลายลักษณะแตกต่างกัน มีทั้งรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้งสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวนอน บ้างเป็นแผ่นป้ายที่สามารถถอดประกอบกับขาตั้งไว้ บางป้ายยึดติดกับขาตั้งอย่างถาวร แผ่นป้ายบางชนิดเคลื่อนย้ายได้แต่บางป้ายติดอยู่กับที่อย่างตายตัวไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ วัสดุที่ใช้ทำแผ่นป้ายมีหลายชนิด เช่น ไม้อัด ไม้ไผ่สาน ไม้เนื้อแข็ง แผ่นพลาสติก แผ่นโลหะ แผ่นเซลโลกรีต เป็นต้น
     คุณค่าของป้ายนิเทศ
             ป้ายนิเทศเป็นสื่อที่มีคุณค่าหลายประการ เช่น เป็นสื่อเร้าความสนใจผู้ชมโดยใช้รูปภาพ ข้อความ และสัญลักษณ์ที่สวยงามและมีความหมายต่อผู้ชม ใช้ในการจัดแสดงแจ้งข่าวสารผู้ชมสามารถศึกษาเนื้อหาได้ซ้ำแล้วซ้ำอีกตามความพอใจ ช่วยประหยัดเวลาในการสอนและการสื่อ ความหมายเพื่อถ่ายทอดความรู้ นิยมใช้เป็นสื่อหลักที่สำคัญในการจัดแสดงหรือนิทรรศการทุกประเภท ป้ายนิเทศที่จัดอย่างสวยงามสามารถใช้เป็นสิ่งประดับตกแต่งห้องหรือบริเวณได้

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS


นาฏการ (Dramatization)

         นาฏการ หมายถึง การแสดงต่าง ๆ ที่จัดขึ้นสำหรับถ่ายทอดความเข้าใจระหว่างผู้แสดงกับผู้ดูการแสดงนาฏการเป็นการเสนอสิ่งเร้าที่เป็นของจริง หรือเสมือนของจริง ซึ่งเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้เรียนสนใจ และเอื้อประโยชน์ให้เกิดการเรียนรู้ได้สะดวก นาฏการสามารถจัดลำดับการเสนอเป็นเรื่องราวให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเสมือนว่าตัวเองเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้น ๆ ด้วย
1. คุณค่าของนาฏการ
1.1 ทำให้บทเรียนเป็นจริงเป็นจัง น่าสนใจ เกิดความประทับใจและจดจำได้นาน
1.2 นักเรียนได้ฝึกทักษะทางภาษา
1.3 ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงออกได้เข้าใจ
1.4 ฝึกความคิดสร้างสรรค์และการแก้ปัญหาร่วมกัน
1.5 สร้างและเปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้เรียนไปในทางที่ดี
1.6 ช่วยระบายความเครียดและสนองความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก
2.ประเภทของนาฏการ
 ประเภทของนาฏการแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
            2.1 ประเภทของนาฏการที่แสดงด้วยคนได้แก่ การแสดงละคร ละครใบ้ หุ่นชีวิต การแสดงกลางแปลง และการแสดงบทบาทสมมุติ
                        2.1.1 การแสดงละคร (Play) เป็นการแสดงที่เห็นถึงความเป็นอยู่อุปนิสัยหรือวัฒนธรรมหรือทั้งสามรวมกันในการแสดงละครจะต้องจัดให้ใกล้เคียง กับสถานการณ์จริง ๆ มากที่สุดโดยอาจต้องจัดสภาพแวดล้อม จัดฉากการแต่งกายและส่วนประกอบต่าง ๆ รวมถึงการเตรียมบทการฝึกซ้อม
                        2.1.2 ละครใบ้และหุ่นชีวิต(Pantomime and Tableau) ละครใบ้เป็นการแสดงลักษณะท่าทางการเคลื่อนไหวและสีหน้าให้ผู้ดูเข้าใจ โดยผู้แสดงไม่ต้องใช้คำพูดเลย  การแสดงเช่นนี้ช่วยฝึกพัฒนาการในด้านการเคลื่อนไหวอวัยวะต่าง ๆ ให้ผู้ดูเข้าใจ
             2.1.3  การแสดงกลางแปลง (Pageant) เป็นการแสดงกลางแจ้ง เพื่อการถ่ายทอดศิลปะและวัฒนธรรมพื้นบ้านตลอดถึงประเพณีหรือพิธีการต่าง ๆ ในท้องถิ่น โดยใช้ผู้แสดงหลายคน
                        2.1.4 การแสดงบทบาท (Role Playing) เป็นการแสดงโดยใช้สถานการณ์จริง หรือเลียนแบบสถานการณ์จริงในสภาพที่เป็นปัญหา มาให้ผู้เรียนหาวิธีแก้หรือใช้ความสามารถความคิดในการวินิจฉัย ตัดสินปัญหาในช่วงเวลา 10-15 นาที การแสดงแบบนี้ส่วนมาก ไม่มีการซ้อมหรือเตรียมการล่วงหน้า ผู้แสดงจะใช้ความสามารถและแสดงบทบาทไปอย่างอิสระ
            2.2 ประเภทของนาฏการที่แสดงด้วยหุ่น ได้แก่ หนังตะลุง หุ่นเสียบไม้ หุ่นสวมมือ และหุ่นชักใย
                        หุ่น (Puppets) เป็นตัวละครที่ไม่มีชีวิต เคลื่อนไหวด้วยการกระทำของมนุษย์เรา สร้างหุ่นด้วยวัสดุง่าย ๆ เพื่อการถ่ายทอดเรื่องราวและแนวคิดต่าง ๆ ให้กับผู้เรียนโดยเฉพาะกับเด็กในวัย 2-6 ปี เด็กในวัยนี้ชอบการเล่น สมมุติ และเรื่องราวที่เป็นจินตนาการ การเคลื่อนไหวของหุ่นจึงสามารถเร้าความสนใจของเด็กได้เป็นอย่างดี
ประเภทของหุ่นมีหลายประเภทแตกต่างกันดังนี้
                        2.2.1 หุ่นเงา (Shadow Puppet) เป็นหุ่นที่ฉลุจากหนังสัตว์ หรือกระดาษแข็งแล้วใช้ไม้ไผ่ยึดเป็นโครงสำหรับเชิดและบังคับให้หุ่นเคลื่อนไหว เวลาแสดงจะต้องใช้ตัวหุ่นอยู่หลังจอ แล้วใช้แสงส่องให้เกิดเงาบนจอ เช่น หนังตะลุง
                        2.2.2 หุ่นเสียบไม้ หรือหุ่นกระบอก (Rod Puppet) เป็นหุ่น 3 มิติที่ใช้แท่งไม้เสียบกับคอหุ่นเพื่อให้ผู้เชิดถือขณะเชิดหุ่นการทำหุ่นชนิดนี้มีตั้งแต่แบบยาก ๆ เช่น กระพริบตา ขยับปากได้จนถึงแบบง่าย ๆ ที่ไม่มีส่วนเคลื่อนไหว ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้ เวลาแสดงหุ่นแบบนี้ผู้เชิดหุ่นจะอยู่ตอนล่างด้านหลังของเวที
                         2.2.3 หุ่นสวมมือ (Hand Puppet) เป็นหุ่นขนาดเล็กครึ่งตัวมีขนาดพอเหมาะกับขนาดของมือที่เชิดหุ่นหัวหุ่นทำด้วยกระดาษหรือผ้าเป็นหัวคน หรือสัตว์ มีเสื้อต่อที่คอหุ่นใต้ลำตัวและแขนกลวง เพื่อสอดมือเข้าไปเชิดให้เกิดการเคลื่อนไหวเนื่องจากหุ่นมือเป็นหุ่นที่ทำได้ง่าย เชิดง่าย จึงนิยมนำมาใช้ในการเรียนการสอนมากกว่าหุ่นชนิดอื่น   
                         2.2.4  หุ่นชัก (Marionette) เป็นหุ่นเต็มตัว ที่ใช้เชือก ด้าย หรือไนล่อนผูกติดกับอวัยวะต่าง ๆ ของหุ่น แล้วแขวนมาจากส่วนบนของเวที ผู้ชักหุ่นจะบังคับเชือกควบคุมการเคลื่อนไหวของหุ่นให้ทำกิริยาท่าทางต่าง ๆ ได้คล้ายคนจริง ๆ แต่การบังคับหุ่นทำได้ยากและต้องใช้เวลาฝึกฝนนานจึงไม่ค่อยได้นำมาใช้ในวงการศึกษามากนัก
-  คุณค่าของหุ่น
            1. หุ่นใช้แสดงเรื่องราวต่าง ๆ ได้สะดวกและง่ายกว่าการแสดงโดยใช้คนจริง ทำให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย
            2. ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างทั่วถึง
             3. พัฒนาทักษะในการเขียน การคิด การแสดงออก การทำงานกลุ่มและช่วยเหลือเด็กขี้อายให้มีความกล้ามากขึ้น
            4. ผู้เรียนทุกคนพอใจและสนใจในการเรียน
  - หลักการใช้หุ่นกับการสอน
            1. เวลาที่ใช้แสดงควรเป็นช่วงสั้น ๆ
            2. พิจารณาว่าได้ประโยชน์คุ้มค่ากับการลงทุนลงแรงเพียงไร เพราะการใช้นาฏการอาจต้องเสียค่าใช้จ่าย เช่น ค่าเครื่องแต่งกาย และวัสดุต่าง ๆ
            3. พยายามให้เด็กทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงให้มากที่สุด แม้จะไม่ได้เป็นตัวละครก็ควรให้มีส่วนในการวางแผน ช่วยเหลือการแสดงและประเมินผล
            4. จัดนาฏการให้เหมาะสมกับพื้นฐานความรู้ ความสนใจ และวุฒิภาวะของเด็ก
             5. ควรใช้สื่อการสอนอื่นมาประกอบด้วย
            6. ควรเลือกแสดงในเรื่องที่สามารถทำเรื่องยากให้ง่ายต่อการเข้าใจ เรื่องนามธรรมให้เป็นรูปธรรม หรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมจริยธรรมต่าง ๆ
            7. จัดนาฏการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน
         

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS